Education

หลักสูตร 18-19 พ.ค. เทคนิคการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด ยุค AI (Writing Mastery for Marketing and Communication)

การเติบโตของสื่อออนไลน์ และการปรับตัวของสื่อออฟไลน์ ทำให้นักสื่อสารต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เอื้อประโยชน์ต่อการสื่อสารขององค์กร

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนแนวทางการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาดให้สามารถตอบโจทย์องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อยุคปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน

เมื่อตลาดและเศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ รูปแบบการสื่อสารก็เปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยเช่นกัน จนทำให้เกิดปริมาณข้อมูลอย่างมากมายบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ การพัฒนาเนื้อหา หรือ Content กลายเป็นความท้าทายในการขับเคลื่อนแผนการสื่อสารและการตลาด ขณะเดียวกัน แนวทางการเขียน เรียบเรียง และร้อยเรื่องราวของเนื้อหากลับกลายเป็นสิ่งที่ยากมากขึ้น

การเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด จึงมีการพัฒนาแนวทางการเขียนใหม่ ให้เนื้อหาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้างเป็นมิตรกับระบบออนไลน์ และช่วยสนับสนุนการทำงานของสื่อ เพิ่มยอดการเข้าถึงเนื้อหาได้มากขึ้น รวมทั้ง จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร โฆษณาและประชาสัมพันธ์ ตลอดจน นักสื่อสารจะต้องมีความสามารถในการเตรียมพร้อมรับมือกับประเด็นร้อนที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ ด้วยการชี้แจงผ่านงานเขียนอย่างมืออาชีพ

ดังนั้น การพัฒนาบุคลากร ด้วยการติดอาวุธความรู้ให้เข้าใจถึง แนวคิด แนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา ข้อควรปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและจริยธรรม รูปแบบการเขียนเพื่อตอบโจทย์โลกออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน รวมทั้ง สามารถเข้าใจหลักการเขียนรูปแบบต่าง ๆ ในภาวะวิกฤตหรือเมื่อองค์กรเกิดประเด็นร้อนได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำเสนอเนื้อหาขององค์กรบนสื่อต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์

หลักสูตร เทคนิคการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด จัดขึ้นเพื่อให้นักสื่อสาร ทราบถึงแนวทางการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด แนวทางจัดการประเด็นเนื้อหา กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการเขียนเนื้อหา แนวทางการเขียนเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต

กลุ่มเป้าหมาย

หลักสูตร เทคนิคการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด ได้รับการออกแบบเนื้อหาเหมาะสำหรับ เจ้าของธุรกิจ / TRAINER ด้านการสื่อสาร / เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร / เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ / อาจารย์ประจำสถาบันการศึกษา / ประชาชนทั่วไปที่สนใจ

วัน เวลา และสถานที่

วันที่ 18-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร เทคนิคการเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด

1. การบริหารงานเขียนเพื่อการสื่อสารและการตลาด

1.1 การบริหารงานเขียนเพื่อการสื่อสารองค์กร

การพัฒนาประเด็นการสื่อสาร
การกำหนดข้อความหลัก (Key Message)
การวางโครงสร้างการเขียน แนวทางการพัฒนางานเขียน ให้เป็นมิตรกับสื่อออนไลน์ และเพิ่มยอดการเข้าถึงเนื้อหาผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้ง อำนวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชนนำไปเผยแพร่ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 การบริหารงานเขียนเพื่อการตลาด

การวางโครงสร้างและการบริหาร เพื่อสร้างเนื้อหาเชิงกลยุทธ์
การสร้างสรรค์ประเด็นและเนื้อหา เพื่อการสื่อสารและการตลาด
การพัฒนาเนื้อหาเพื่อสร้างความผูกพัน (Content Engagement Strategy)

2. ข้อควรปฏิบัติและระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออันส่งผลต่อจริยธรรมและกฎหมาย

รูปแบบความจริงและความลวง
จริยธรรมของสื่อ
สิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการสื่อสารผ่านสื่อ
กรณีศึกษาการสื่อสารที่ส่งผลต่อจริยธรรมและกฎหมาย

3. การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างสรรค์และเขียนเนื้อหา

แนวคิดและหลักการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์
การพัฒนางานเขียนอย่างมืออาชีพด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
ตัวอย่างเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์สำหรับงานสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ

4. การบริหารงานเขียนเพื่อจัดการภาวะวิกฤตหรือประเด็นร้อน

แนวคิดของการบริหารจัดการภาวะวิกฤต
การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล
การบริหารงานเขียนในภาวะวิกฤต

วุฒิบัตรรับรองคุณภาพ Accreditation Program : Expert and Specialist

วุฒิบัตร
การมอบวุฒิบัตรรับรองคุณภาพ Accreditation Program : Expert and Specialist จะมอบให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต่อเมื่อผ่านเงื่อนไขตามหลักสูตร ได้แก่

  • แบบทดสอบความรู้ จะต้องได้คะแนนอย่างน้อยร้อยละ 80 ขึ้นไป
  • ชั่วโมงการฝึกอบรม จะต้องเข้าอบรมสัมมนาครบ 12 ชั่วโมง (จำนวน 2 วันเต็มหลักสูตร)

ผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์จะได้รับวุฒิบัตรหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมสัมมนาและจะมีการประกาศรายชื่อในหน้าเว็บไซต์ www.aprtrainnig.com/category/accredited-expert

สำหรับท่านที่ไม่ผ่านเงื่อนไขข้อที่ 1 ตามหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมอบรมแทน

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

ปริญญา ชุมรุม
ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและสร้างแบรนด์ เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเนื้อหา หรือ Content เพื่อสร้างการรับรู้ ภาพลักษณ์ และการสื่อสารการตลาด กว่า 20 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจ การตลาด สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษา ศูนย์พัฒนาการค้า-การลงทุนแผนใหม่ (ITDC) บริษัทวิจัย นาโนเซิร์ช บริษัทสื่อการตลาดดิจิทัล คลาวด์ไนน์ เวิลด์ไวด์ และอื่นๆ 

บทบาทในฐานะวิทยากรที่ปรึกษาและฝึกอบรมด้านการสื่อสารให้แก่หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย สถานีโทรทัศน์ PPTV บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย บริษัท ตรีเพชร อีซูซุ เซลส์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเกียรตินาคิน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การประปานครหลวง เป็นต้น 

สราวุธ บูรพาพัธ 
ประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ กว่า 20 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท การสื่อสารบูรณาการณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและบริหารภาวะวิกฤตให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนหลายแห่ง เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ทบวงการค้าและการลงทุนแห่งสหราชอาณาจักร บริษัท ซินเจนทา คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ทุ่งคา ฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชีย โฮเรก้า จำกัด บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัดและในเครือ เป็นต้น 

บทบาทในฐานะวิทยากรที่ปรึกษาและฝึกอบรมด้านการสื่อสารและการสื่อสารภาวะวิกฤตให้แก่หน่วยงานกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มบริษัท แสนสิริ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท ทุ่งคา ฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ธนาคารเกียรตินาคิน บริษัท ซินเจนทา คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นต้น
เทคนิคการเขียนยุค ai, การเขียนเพื่อการตลาด, เขียนข่าว, เทคนิคการเขียน, writing mastery
7a8b583eda5ff91f68ebd3aeddd3bfaffe758631
Organized by
Market-Comms