ทำไมองค์กรจึงต้องสื่อสาร (ปิดไว้ไม่ได้หรือ) ประเด็นปัญหา ข้อขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นขององค์กร ไม่ว่าจากภายในหรือภายนอก ควรได้รับการวิเคราะห์และเอาใจใส่จากผู้บริหาร เพื่อไม่ให้ประเด็นปัญหาก่อตัว ทำให้เกิดวิกฤตลุกลามขึ้นได้ โดยทุกองค์กร ไม่ควรหลีกเลี่ยงที่จะสื่อสารกับทุกกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารควรดำเนินการให้เป็นระบบและไปในทิศทางเดียวกัน หากไม่สื่อสารจะทำให้ประเด็นปัญหาลุกลาม สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร รวมถึงราคาหุ้นขององค์กรก็เป็นได้
นอกจากนี้ สื่อมวลชน ในฐานะสื่อกลางผู้มีบทบาทและอิทธิพลต่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ขององค์กรธุรกิจหรือบุคคลไปยังกลุ่มสาธารณชนต่างๆ รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของสื่อมวลชนเอง ต่างมีความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันสมัยอยู่แล้ว ผู้บริหารและนักสื่อสารองค์กรธุรกิจเอง ต่างก็มีความต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรเช่นกัน ดังนั้น การสื่อสารและประสานงานระหว่างองค์กรกับสื่อมวลชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร จึงเป็นการประสานงานร่วมมือและเกื้อกูลกันในด้านข้อมูล ข่าวสาร โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่ กลยุทธ์และกลวิธีในการสื่อสาร การให้สัมภาษณ์ การตอบข้อสงสัยหรือซักถาม อันนำมาซึ่งการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรที่ถูกต้องต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักขององค์กร ส่งผลต่อการเผยแพร่หรือตีพิมพ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อไปในอนาคต
รวมทั้ง หลายครั้งวิกฤตขององค์กรมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพันธมิตร คู่ค้า หรือห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้ง บางกรณี จำเป็นต้องได้รับความสนใจหรือสนับสนุนในระดับนโยบาย การสร้างความสัมพันธ์และประสานงานกับกลุ่มองค์กรธุรกิจและภาครัฐ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารทั้งในรูปแบบทางการและไม่ทางการ หรือ การล็อบบี้ เช่นเดียวกัน เมื่อวิกฤตเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์
หลักสูตร นักบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต ยุค AI จัดขึ้นเพื่อให้นักสื่อสารทราบถึงแนวทางการบริหารสื่อสารภาวะวิกฤตทั้งในโลกออฟไลน์และออนไลน์ ตลอดจน สามารถบริหารจัดการสื่อสารภายในองค์กรได้อย่างมีกลยุทธ์ รวมทั้ง สามารถบริหารความสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจและภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนถึง การเตรียมความพร้อมในการประสานงานและการสื่อสารให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนในสถานการณ์ต่าง ๆ
กลุ่มเป้าหมาย
หลักสูตร นักบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต ยุค AI ได้รับการออกแบบเนื้อหาเหมาะสำหรับ เจ้าของธุรกิจ / TRAINER ด้านการสื่อสาร / เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร / เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ / อาจารย์ประจำสถาบันการศึกษา / ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
วัน เวลา และสถานที่
วันที่ 15-16 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ
โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร นักบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต ยุค AI
1. การบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต
1.1 แนวคิดและหลักการบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต
1.2 โครงสร้างและแนวทางการบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต
การบริหารสื่อสารภาวะวิกฤิตบนโลกออฟไลน์ พร้อมกรณีศึกษา
การบริหารสื่อสารภาวะวิกฤิตบนโลกออนไลน์ พร้อมกรณีศึกษา
1.3 การบริหารสื่อสารภายในองค์กรภาวะวิกฤตเชิงกลยุทธ์
กลยุทธ์การสื่อสารภายใน
แนวทางการสื่อสารภายในภาวะวิกฤต
2. การบริหารความสัมพันธ์องค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และการล็อบบี้ เพื่อสนับสนุนการสื่อสารภาวะวิกฤต
การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและภาครัฐ
การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรธุรกิจ
ตัวอย่างกลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อสนับสนุนแนวคิดระดับนโยบายและการล็อบบี้
3. การพัฒนาทักษะการสื่อสารกับสื่อมวลชน (Media Training)
สรุปภาพรวมความต้องการของสื่อออนไลน์และออฟไลน์
การกำหนดข้อความหลักเพื่อการสื่อสารภาวะวิกฤต
เทคนิคการประสานงานและสื่อสารกับสื่อมวลชนในสถานการณ์ต่าง ๆ
วุฒิบัตรรับรองคุณภาพ Accreditation Program : Expert and Specialist
วุฒิบัตร
การมอบวุฒิบัตรรับรองคุณภาพ Accreditation Program : Expert and Specialist จะมอบให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต่อเมื่อผ่านเงื่อนไขตามหลักสูตร ได้แก่
- แบบทดสอบความรู้ จะต้องได้คะแนนอย่างน้อยร้อยละ 80 ขึ้นไป
- ชั่วโมงการฝึกอบรม จะต้องเข้าอบรมสัมมนาครบ 12 ชั่วโมง (จำนวน 2 วันเต็มหลักสูตร)
ผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์จะได้รับวุฒิบัตรหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมสัมมนาและจะมีการประกาศรายชื่อในหน้าเว็บไซต์ www.aprtrainnig.com/category/accredited-expert
สำหรับท่านที่ไม่ผ่านเงื่อนไขข้อที่ 1 ตามหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมอบรมแทน
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ภวินท์ ศรีเกษมสุข
ประสบการณ์ในด้านการสื่อสารองค์กร การสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะภาคธุรกิจการเงินการธนาคารมากกว่า 12 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาโท จากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการบูรณาการการสื่อสาร และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการกำกับดูแลกิจการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง Assistant Vice President PR and Marketing ของสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรในยุคดิจิทัล ให้สอดรับกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง สร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าและภาคประชาชนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐผ่านแผนรณรงค์การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อป้องกันประเด็นต่าง ๆ อันอาจจะลุกลามเป็นภาวะวิกฤตได้
สราวุธ บูรพาพัธ
ประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ กว่า 20 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท การสื่อสารบูรณาการณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและบริหารภาวะวิกฤตให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนหลายแห่ง เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ทบวงการค้าและการลงทุนแห่งสหราชอาณาจักร บริษัท ซินเจนทา คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ทุ่งคา ฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชีย โฮเรก้า จำกัด บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัดและในเครือ เป็นต้น
บทบาทในฐานะวิทยากรที่ปรึกษาและฝึกอบรมด้านการสื่อสารและการสื่อสารภาวะวิกฤตให้แก่หน่วยงานกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มบริษัท แสนสิริ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท ทุ่งคา ฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ธนาคารเกียรตินาคิน บริษัท ซินเจนทา คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นต้น