mg 0480
24 May 2019 19:00

ธรรมดาโลกไม่จำ...อยากเป็นผู้นำต้องแหกกฏ จาก 4 สุดยอด Speaker



เมื่อวานนี้ Eventpop มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาฟังประสบการณ์จาก  4 The Creative Disruptor ในการปรับตัวเพื่อเป็นที่หนึ่งในเส้นทางแข่งขันเพราะโลกธุรกิจทุกวันนี้ถูกท้าทายและ Disrupt อยู่ตลอดเวลา


จัดโดย เว็บไซต์ BRAND BUFFET.IN.TH งานเสวนาประจำปี BRAND TALK ครั้งที่ 17




ช่วงที่ 1 it’s just a matter of time เพราะ ”เวลา” คืออาวุธใหม่ในโลกดิจิทัล 


โดย Speaker คนแรก นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป พูดถึงเรื่องการนำเวลามาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ ด้วยการชิงเวลาของลูกค้ามาเป็นของเรา เพราะสุดท้ายเวลาจะเปลี่ยนเป็นเงิน เป็นความภักดีต่อสินค้าหรือกลายเป็นข้อมูลที่ทำให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น และอาจนำไปสู่การต่อยอดในธุรกิจอื่นได้

กลยุทธ์ทำอย่างไรให้คนอยู่กับเราได้ มีเพียง 4  ข้อ

1.Business is competing to get most of customer time/attention ยิ่งได้เวลามากยิ่งได้เงินมาก
หลายธุรกิจบน Social media กลายเป็น platform ธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น  Facebook หลังจากเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค จึงขยายธุรกิจได้หลายช่องทาง ทั้ง Line@ Line Man Line TV  จนกลายเป็น Super app หรือในธุรกิจธนาคารก็ไม่ได้มีแค่ถอน-โอนอีกต่อไป ยังมี Feature จองตั๋วหนัง หรือรับส่วนลดอื่น ๆ  เป็นธุรกิจที่ไม่ไ่ด้เกี่ยวกับ media ก็ยังสร้างทางเลือกให้คนใช้เวลานานขึ้น


 2.Let’s kill the wait time with realtimification ลดเวลารอ
หากธุรกิจไหนสามารถลดเวลาที่จะต้องเสียไปได้ดีกว่าจะถูกใจผู้บริโภค ตัวอย่าง เช่น Food Delivery, Jump provides scooter and bike share service และ Doctor on-demand เป็นต้น


3.Let get to the customers before they even ask ถูก’สถานที่’ ถูก’เวลา’ ถูก ‘บุคคล’
เรียกง่าย ๆ ว่า Get Timing โดยเลือกให้สินค้า/บริการ ออกมาอย่างถูกช่วงเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ


4.Let’s share time with some other(less important) tasks 
หาโอกาสแย่งเวลาจาก task ที่ไม่จำเป็นโดยไม่เบียดเบียนกิจกรรมหลัก เช่น การจัด podcast  ระหว่างขับรถ หรือ Tesco Home plus เป็นต้น

ลองคิดหาวิธีที่จะทำให้เวลากลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจของคุณให้ได้




ช่วงที่ 2 The Creative Disruptor ธรรมดาโลกไม่จำ อยากเป็นผู็นำต้องแหกกฏ


ในชั่วโมงถัดมาก็ถึงช่วงเวลาของการพูดคุยกับ 4 The Creative Disruptor ซึ่งแต่ละท่านได้แชร์ประสบการณ์ที่ธุรกิจได้เจอให้ได้ฟัง


ความหมายของคำว่า Disruption
ในคำถามแรกจะพูดถึงความหมายของการ Disruption  จากประสบการณ์ของผู้บริหารบริษัทยักต์ใหญ่ โดยคุณเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การ disruption เกิดขึ้นได้ทุกวัน ประเทศไทยก็มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ธุรกิจสื่อ ตั้งแต่หนังสือพิมพ์ นิตยสารไปจนถึงช่องรายการโทรทัศน์ สาเหตุเกิดจากหลายสิ่ง เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค แม้แต่การค้าระหว่างประเทศ อย่างอเมริกากับจีนที่กำลังมีปัญหาเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายธุรกิจเกิด disruption และผมกลับมองว่าผลกระทบทาง  digital เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อยู่ที่ว่าเราจะตระหนักรู้และอยู่ที่เราจะปรับเปลี่ยนตัวเองไหม เพราะว่าในปัจจุบันโลกเปิดกว้างขึ้นและสังคมสามารถรับรู้ได้


คุณปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการธุรกิจซัพพลายเชน และกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ก็ร่วมจำกัดความหมายของตัวเองไว้ว่า "ผมมองต่างมุมนะกับคำว่า disruption มันจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ผมมักจะเห็นในมุมที่ดี ไม่ว่าจะจากสาเหตุอะไรก็ตาม แค่แยกมันออกว่าสิ่งไหนที่ควรเป็นข้อระวังหรือ สิ่งไหนเป็นโอกาส"







การปรับตัวเริ่มได้ทันที

คุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้แชร์การแก้ไขที่จะสามารถพาธุรกิจให้เป็นหนึ่งในผู้ชนะว่า ธนาคารยูโอบีเป็นธนาคารขนาดกลาง การที่จะแข่งกับธนาคารใหญ่ ๆ ต้องเริ่ม disruption ตัวเอง มองไปในอนาคตว่าลูกค้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร 

ปัจจุบันธนาคารยูโอบีทีลูกค้าที่ใช้ช่องทางโทรศัพท์เพื่อทำธุรกรรมมากขึ้น และลูกค้ามากกว่า 60% อยู่ใน GenY ดังนั้นลูกค้ากลุ่มนี้จึงต้องการรับรู้ข้อมูลของบริการ ทำให้ต้องหาวิธีการที่จะสามารถแข่งกับธนาคารอื่น ๆ ได้ เมื่อเรารู้ว่าจุดด้อยของสินค้าและบริการของเรา คือ การรอนานจากคอลเซนเตอร์ จึงแก้ปัญหาโดยสร้างแชทบอท ที่คอยตอบคำถามและให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ในทันที 



แม้แต่บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ก็ต้องแก้ไขปัญหาใหญ่ที่ได้พบเจอ
เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมคนให้เข้ากับสถานการณ์ทางธุรกิจ ธุรกิจของเราโดนผลกระทบทางการเมืองที่ค่อนข้างมาก เรามองว่าถ้าเราไม่ปรับตัวเราตายแน่ ทำให้ธุรกิจต้องเข็นตัวเองออกไปต่างประเทศเพื่อก้าวออกไปเรียนรู้ ปรับทั้งองค์กรเพื่อให้แข่งในตลาดโลกได้






และ Speaker คนสุดท้าย คุณโฉมชฎา กุลดิลก Head of Corporate Brand บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง การปรับตัวของโครงการจากทางเอสซีแอสเสทไว้ว่า " ได้ปรับตัวแนวคิดการสร้างบ้านให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน โดยมีการอิงจากแนวโน้มของสังคมที่มักมีการใช้ชีวิตในรูปแบบคนโสดมากขึ้น แนวคิดนี้จึงได้รวบรวมบริการต่างๆสำหรับลูกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบริการล้างรถยนต์ถึงบ้าน, บริการล้างแอร์บ้านจากช่างผู้ชำนาญการที่ทางโครงการได้คัดสรรมาให้, บริการทำสวน, บริการแม่บ้าน และอื่นๆอีกมากมายไว้บนแอปพลิเคชั่น "Ruejai subscription ช่วยเรื่องบ้าน จัดการเรื่องชีวิต"  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกบ้าน บนพื้นฐานความสะดวกและปลอดภัยเป็นหลัก







ติดตามทุกสัมมนาดี ๆ จาก Eventpopได้ทุกช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์ www.eventpop.me และทางเพจเฟซบุ๊ก Eventpop แล้วเพื่อน ๆ จะไม่พลาดทุกงานอีเว้นท์ สัมมนา คอนเสิร์ต และงานวิ่งที่รออยู่แน่นอน

SC Asset, uob, พชร อารยะการกุล, เกรียงไกร กาญจนะโภคิน, ปิติ ภิรมย์ภักดี, creative