02 Jun 2023 12:00
รวมประเทศที่มีกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ 🏳️🌈
Eventpop ร่วมฉลอง Pride Month หรือ เดือนแห่งความภาพภูมิใจในความหลากหลายทางเพศด้วยการสนับสนุนกฏหมาย "สมรสเท่าเทียม" เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศใดหรือมีความรักในรูปแบบไหน ทุกคนควรได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน 🏳️🌈
Pride Month เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศ และเป็นเดือนที่รำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จากเหตุการณ์จลาจลครั้งนั้นที่เจ้าหน้าเลือกใช้ความรุนแรงกับกลุ่มหลากหลายทางเพศ ทำให้เกิดการชุมนุมและมีการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิ และแสดงจุดยืนของความหลากหลายทางเพศขึ้น โดยการเดินขบวนครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 1970 ที่นิวยอร์ก และในปี 2009 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “เดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)”
นอกจากความเท่าเทียมทางการแสดงออกถึงตัวตนโดยไม่มีเพศสภาพมาเป็นข้อจำกัดแล้ว ในหลายประเทศกำลังต่อสู่เพื่อความเท่าเทียมในการสร้างครอบครัวโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศเพื่อจะได้สิทธิประโยชน์ทางกฎหมายรองรับอย่างเท่าเทียม หากทุกคนสามารถจดทะเบียนสมรสได้ก็จะสามารถเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ภาพจาก BBC
ตัวอย่างของสวัสดิของรัฐที่เป็นประโยชน์ คือ การที่ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม เช่น มีสิทธิจดทะเบียนสมรส, สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรม, สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ เป็นต้น และ การได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยอมรับและรับรองให้มีการสมรสระหว่างเพศเดียวกันได้ นับรวมทั้งหมด 31 ประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
🔹ประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ ชาติแรกที่ผ่านกฎหมายสมรสเพศเดียวกัน อนุญาตให้บุคคลเพศเดียวกันมีสิทธิ์ สมรส หย่า และรับบุตรบุญธรรมในปี 2544
🔹ประเทศเบลเยี่ยม เป็นประเทศที่สองที่มีกฎหมายคู่สมรสเพศเดียวกันประกาศใช้ ในปี 2541
🔹 ประเทศแอฟริกาใต้ เริ่มใช้ในปี 2549 โดยศาลสูงได้ออกกฎหมายรับรองการสมรสเพศเดียวกัน โดยมีข้อยกเว้นสำหรับสถาบันศาสนา
🔹ประเทศไต้หวัน เป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศแรกที่สภาผ่านกฎหมายคู่สมรสเพศเดียวกัน ในปี 2562 โดยการอนุมัติให้สมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันที่เป็นพลเมืองไต้หวันด้วยกันเท่านั้น และในปี 2564 มีมติอนุมัติการแก้ไขกฎหมายเพื่อปูทางสำหรับการเปิดกว้างการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันระหว่างคู่สมรสชาวไต้หวันและชาวต่างชาติได้
ภาพจาก The New York Times
สำหรับสถานการณ์ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม (คู่สมรส) ในไทยตอนนี้กำลังเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะร่าง พ.ร.บ. วาระแรกได้ผ่านเช้าไปในการพิจารณาอย่างละเอียดในวาระที่ 2 และมีการตั้งคณะกรรมธิการขึ้นมาเพื่อแก้ไขและรวมร่างพ.ร.บ. ให้มีความเหมาะสมและครอบคลุม หลังจากการแก้ไขและรวมร่าง พ.ร.บ. ทั้งหมดแล้ว ณ ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับล่าสุดนี้จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาต่อไปในวาระที่ 3 และก็ยังคงต้องลุ้นกันต่อไปว่าในวาระที่ 3 นี้จะมีร่าง พ.ร.บ. ไหนบ้างที่ผ่านมติได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาฯ เพราะถ้าหาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมถูกปัดตกและมีเพียงร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่ผ่านเข้าไปในวาระที่ 3 สถานะของผู้จดทะเบียนจะเป็นเพียง “คู่ชีวิต” ซึ่งได้สิทธิไม่มากเมื่อเทียบกับการเป็น”คู่สมรส”
ฉะนั้นสมรสเท่าเทียมควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวได้โดยไม่จำกัดเพศ และทุกคนสามารถเลือกที่เป็นหรือเลือกที่จะรักใครหรือเพศใดก็ได้ เพราะนั้นเป็นสิทธิที่ทุกคนพึ่งได้รับ
ส่วนใครที่ไม่อยากพลาดงานอีเวนต์ หรือ คอนเสิร์ต ก็อย่าลืมกดติดตามเพจ Eventpop หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไว้บนมือถือได้ทั้งระบบ iOS และ Android
You have entered www.eventpop.me and exited from SCB Easy